ฎีกาใหม่ ด่าหมิ่นประมาทใส่ความนายจ้างให้ลูกจ้างฟัง อ้างบรรดาลโทสะได้หรือไม่
คำถาม ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มาทวงถามกลับให้ลูกจ้าง
บอกเจ้าหนี้ว่าไม่อยู่ เจ้าหนี้จะอ้างเหตุบันดาลโทสะกล่าวข้อความหมิ่นประมาทลูกหนี้
ต่อหน้าลูกจ้างของลูกหนี้ได้หรือไม่
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๕๗/๒๕๖๔
จําเลยทั้งสองไปหาโจทก์ที่บ้านเพื่อทวงถามหนี้ซึ่งโจทก์กู้ยืมไปและยังไม่ชำระ
แต่โจทก์กลับให้ลูกจ้างบอกจำเลยทั้งสองว่าโจทก์ไม่อยู่ทำให้จำเลยทั้งสองโมโหและกล่าว
ข้อความต่อหน้าลูกจ้างของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นได้ว่า ข้อความ
ที่กล่าวต่อหน้าลูกจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลที่สามนั้นเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคล
ที่สามซึ่งอาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยข้อความดังกล่าวทำให้บุคคลที่ได้ยิน
ได้ฟังเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนขี้โกง เป็นหนี้แล้วไม่ยอมชดใช้ แม้จะเป็นการกระทำไปด้วย
อารมณ์ แต่ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำโดยเจตนา เมื่อข้อความที่จำเลยทั้งสองกล่าว
ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจากผู้ที่ได้ยินได้ฟัง
การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโจทก์
การที่โจทก์กู้ยืมเงินจำเลยทั้งสองไปและยังไม่ชำระ กับให้ลูกจ้างบอกจำเลย
ทั้งสองว่าโจทก์ไม่อยู่แม้จะเป็นเหตุให้จําเลยทั้งสองโกรธและกล่าวข้อความนั้นก็ตาม
จำเลยทั้งสองก็ชอบที่จะต้องดำเนินการใช้สิทธิตามขั้นตอนของกฎหมาย อีกทั้งการ
ของโจทก์ที่ไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสอง แม้จะเป็นพฤติกรรมของลูกหนี้ที่ไม่
สมควรกระทำ แต่ก็ยังไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยทั้งสองอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. มาตรา ๗๒ อันจะเป็นเหตุให้บันดาลโทสะได้
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th