Home ทั้งหมด ฟ้องหย่า ชาวอเมริกา มีวิธีการและข้อกฎหมายอย่างไร

ฟ้องหย่า ชาวอเมริกา มีวิธีการและข้อกฎหมายอย่างไร

4403

ฟ้องหย่า ชาวอเมริกา มีวิธีการและข้อกฎหมายอย่างไร

กฎหมายของสหรัฐอเมริกานั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละมลรัฐ เนื่องจากเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก มีการแบ่งเขตการปกครองให้แต่ละมลรัฐสามารถปกครองตนเองได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน กฎหมายต่าง ๆ จึงถูกบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละมลรัฐ กฎหมายครอบครัวเช่นเดียวกันที่มีความแตกต่างกันออกไปจึงเกิดกฎหมายกลางที่ชื่อว่า

The Uniform Marriage and Divorce Act 1970 (UMDA) ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายว่าด้วยครอบครัวของมลรัฐต่างที่สุด  แต่เนื่องด้วยในประเทศที่ใหญ่ทางทีมงานทนายกฤษดา ขอนำเสนอไว้ ๒ มลรัฐ

 

มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (California)

มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นมลรัฐแรกที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายครอบครัวว่าด้วยการหย่าร้างจากเดิมที่อาศัยหลักความผิดเท่านั้น พัฒนาต่อมาโดยการนำหลักปราศจากความผิดเข้ามาใช้บังคับแทน
บัญญัติอยู่ใน

California Family Code ในหมวดที่ 6
ส่วนที่ 3 บทที่ 2 ว่าด้วยการหย่าร้าง (Division 6 – Nullity, Dissolution, and Legal Separation;
Part 3 Dissolution of Marriage and Legal Separation; Chapter 2 – Grounds for
Dissolution or Legal Separation) มาตรา 2310 ถึง มาตรา 2312 ดังนี้

การสิ้นสุดการสมรสตามกฎหมายของคู่สมรส 

มีกำหนดไว้ในมาตรา 2310 อาจเกิดจากเหตุต่อไปนี้ (2) กรณีไม่มีเงื่อนไขกำหนดไว้ว่าต้องมีลักษณะตายตัว
เช่นไร เพียงแต่กฎหมายกำหนดกรอบอย่างกว้างให้สามารถตีความได้เท่านั้น กล่าวคือ คู่สมรสมีความแตกต่างกันจนเกินไป หรือไปด้วยกันไม่ได้ เป็นเหตุให้การสมรสแตกสลายไม่อาจคืนได้ โดยที่คู่สมรสไม่จำต้องมีการพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายกระทำความผิดนั้น

ทั้งนี้มีการกำหนดลักษณะดังกล่าวตามมาตรา 2311 กล่าวว่าความแตกต่างกันจนเกินไปทำให้การสมรสแตกสลายนั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นว่าการสมรสไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้อีกและเป็นเหตุให้คู่สมรสควรหย่าขาดจากกัน ซึ่งคำว่าIrreconcilable Differences หรือความแตกต่างกันจนเกินไปนี้ ได้มีการยกตัวอย่างขอบเขตของ
พฤติกรรมที่ทำให้คู่สมรสต้องประสบปัญหาความแตกต่างจนอาจนำไปสู่การหย่าร้างได้

คู่สมรสไม่ต้องการมีส่วนร่วมในครอบครัวอีกต่อไป การไม่สามารถหาความสมดุลในชีวิตความเป็นอยู่ที่บ้านและที่ทํางาน ความล้มเหลวในการสื่อสารระหว่างกัน ความแตกต่างทางลักษณะนิสัย ความแตกต่างกันในมุมมองทางการเมือง ปัญหาหนี้สิน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนของแต่ละฝ่ายและความแตกต่างในการเลี้ยงดูบุตรของคู่สมรสด้วย ซึ่งศาลย่อมพิจารณาเรื่องความแตกต่างนี้ในการพิพากษาให้ทั้งคู่สามารถหย่าขาดจากกันได้

กรณีมาตรา 2310 (6) การไร้ความสามารถอย่างถาวร
ตามกฎหมาย เป็นเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้คู่สมรสสามารถหย่าได้ ทั้งนี้การไม่สามารถตัดสินใจหรือจัดการสิ่งต่างๆได้เอง เป็นบุคคลไร้ความสามารถ บัญญัติอยู่ในมาตรา 2312 อาการดังกล่าวต้องอาศัยการพิสูจน์ให้เห็นถึงความวิกลจริตตลอดเวลาที่ได้มีการยื่นฟ้องหย่าและยังคงเป็นอยู่เช่นนั้นไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นหากมีพฤติการณ์ตามที่กฎหมายกำหนดขึ้น คู่สมรสย่อมสามารถยกขึ้น
กล่าวอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 2310 นั่นเอง

สําหรับการทําหนดเรื่องทรัพย์สินภายหลังการหย่าร้าง

มีกฎหมายบัญญัติอยู่ในหมวดที่ 7 ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สิน ส่วนที่ 2 บทบัญญัติทั่วไป (Division 7 Division of Property; Part 2 – General Provisions) ซึ่งศาลสามารถพิจารณาได้จากมาตรา
2550 กรณียกเว้นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อตกลงทางวาจาหรือกรณีอย่างอื่นที่มีการตก
ลงกันในศาล โดยให้มีการแบ่งทรัพย์สินให้แก่คู่สมรสอย่างเท่าๆ กัน กล่าวได้ว่ามาตรานี้เป็นการ
กำหนดให้คู่สมรสแต่ละฝ่ายได้รับการแบ่งทรัพย์สินอย่างเท่าเทียมกัน แต่หากว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่
เห็นด้วยกับการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าว มาตรา 2554 ตาม (a) กำหนดว่าหากคู่สมรสไม่เห็นด้วยใน
การแบ่งแยกทรัพย์สินโดยสมัครใจ ศาลอาจพิจารณาชี้ขาดในเรื่องดังกล่าวได้ และ (6) ศาลอาจมอบ
อำนาจให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องดังกล่าวตลอดเวลาที่คู่สมรสไม่สามารถตกลง
แบ่งแยกทรัพย์สินกันได้

และมาตรา 2556 ระหว่างการดำเนินคดีหย่าหรือการแยกกันอยู่ตามกฎหมาย ศาลยังคงมีอำนาจในการพิพากษาทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัย ซึ่งคู่สมรสอาจยื่นคำร้องต่อศาลแสดงให้เห็นถึงสาเหตุในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน กรณีนี้ศาลจะแบ่งทรัพย์สินให้อย่างเท่าๆ กัน เว้นแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุอันควรที่แสดงให้เห็นว่าต้องแบ่งแยกทรัพย์สินอย่างไม่เท่าเทียมกัน โดยอาจพิพากษาให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้รับการแบ่งทรัพย์สินมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งได้ หากว่าคู่สมรสฝ่ายนั้นได้แสดงให้ศาลเห็นถึงเหตุอันควรได้รับ เป็นต้น

มลรัฐอลาบามา (Alabama)

มลรัฐอลาบามา เป็นอีกมลรัฐหนึ่งที่มีการแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยมากขึ้น กฎหมายว่าด้วยการหย่าร้างในมลรัฐนี้อาศัยเหตุฟ้องหย่าจากทั้งสองหลักการ คือหลักความผิดและหลักปราศจากความผิด

มีด้วยกันทั้งสิ้น 12 เหตุ บัญญัติอยู่ใน The Code ofAlabama 1975 หมวดที่ 30 ว่าด้วยความสัมพันธ์การสมรส (Title 30 – Marital and DomesticRelations) บทที่ 2 การหย่าร้างและค่าเลี้ยงดู (Chapter 2 – Divorce and Atimony) ในมาตรา30-2-1 (Section 30-2-1) ดังนี้

มาตรา 30-2-1 ศาลมีอำนาจเป็นผู้พิจารณาและตีความพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นของคู่สมรสในการพิพากษาให้คู่สมรสสามารถหย่าขาดจากกันได้ ทั้งนี้การจะหย่าขาดจากกันต้องเป็นเหตุที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ดังต่อไปนี้

(1) ในการสมรส คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลไร้

(2) มีการกระทำชู้ความสามารถ

(3) มีการแยกกันอยู่ โดยการแยกเตียงนอนและที่พัก อาศัยออกจากกันเป็นเวลา 1 ปี ก่อนยื่นฟ้องหย่า

(4) ถูกพิพากษาให้รับโทษจําคุกโดยมีอัตราโทษ 7 ปี หรือ มากกว่านั้น และได้รับโทษจําคุกเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีแล้ว

(5) มีการกระทําอันผิดธรรมชาติไม่ว่าเป็นการกระทําต่อ มนุษย์หรือสัตว์ ทั้งก่อนหรือหลังการสมรส

(6) ภายหลังการสมรส คู่สมรสกลายเป็นผู้มีนิสัยชอบดื่ม สุรา หรือเสพติด ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือสารเสพติดอื่นๆ

(7) เมื่อเป็นที่พอใจแก่ศาลจากพยานหลักฐานต่างๆว่า สามีหรือภริยา มีสภาวะทางอารมณ์ที่เข้ากันไม่ได้ เป็นเหตุให้ไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้อีกต่อไป

(8) เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องถูกคุมขังอยู่ใน โรงพยาบาลโรคจิตเป็นเวลา 5 ปีต่อเนื่องกัน โดยไม่มีความหวังที่จะรักษาให้หายขาดจากความวิกลจริต ได้ ทั้งนี้ผู้อํานวยการโรงพยาบาลที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งถูกคุมขังอยู่ได้มีการยืนยัน รับรองว่าเป็นความจริง และความวิกลจริตนั้นไม่มีทางที่จะรักษาให้หายขาดได้

(9) เมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีการสมรสแตกสลายลงไม่อาจ กลับคืนดีได้อีก

(10) ภริยาตั้งครรภ์โดยไม่อยู่ในความรับรู้ หรือการกระทํา ของสามี สามีฟ้องหย่าได้

(11) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทําความรุนแรง ก่อให้เกิด อันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพ หรือเมื่อการกระทําดังกล่าวก่อให้เกิดความเกรงกลัวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

(12) เมื่อภริยาแยกตัวอยู่ต่างหากจากสามี โดยการแยก เตียงนอนและที่พํานักอาศัยเป็นเวลา 2 ปี และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสามีเป็นเวลา 2 ปีด้วย ทั้งนี้ ภริยาต้องอาศัยอยู่ในมลรัฐอลาบามาตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ภริยาจึงสามารถฟ้องหย่าได้

จากพฤติการณ์ที่กล่าวข้างต้นส่งผลให้ศาลสามารถ พิพากษาให้สามีหรือภริยาหย่าขาดจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ หากว่ามีข้อเท็จจริงตามที่กฎหมายกําหนด เกิดขึ้น ซึ่งกฎหมายว่าด้วยการหย่าร้างของมลรัฐนี้มีทั้งการกําหนดให้ต้องพิสูจน์ความผิด โดยอาศัย หลักความผิดเป็นเกณฑ์การพิจารณา เช่น มีการกระทําซ้ํา การกระทําความรุนแรง การติดสารเสพติด ฯลฯ เป็นเงื่อนไขหลัก นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขประการสําคัญอีกประการหนึ่ง คือ การนําหลักปราศจาก ความผิดเข้ามาใช้ร่วมด้วย เป็นเหตุหย่าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เช่น ความวิกลจริตที่เกิดกับคู่

ขั้นตอนการฟ้องหย่ามีหลักการพิจารณาอย่างไร

วันนี้ทีมงานทนายกฤษดา จะมาแนะนำขั้นตอนง่ายๆในการฟ้องหย่าสามีหรือภริยาชาวอเมริกาที่จดทะเบียนสมรสมีวิธีการดังนี้

ตามปกติแล้วการหย่า นั้นสามารถฟ้องในศาลของประเทศไทยได้ ดังนั้นการหย่า แล้วทีมงานทนายกฤษดาได้สรุปวิธีการอ่างง่ายไว้โดยเฉพา

–>1.ฟ้องหย่าชาวอเมริกา ที่ศาลไหน

ฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ ในจังหวัดหรือเขตที่ตั้งอยู่อยู่กินกัน หรือ ศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของภูมิลำเนาจำเลย ที่จำเลยมีทะเบียนบ้านอยู่

–>2.ฟ้องหย่าชาวอเมริกา ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

  • สำเนาบัตรประชาชน ของตนเอง และจำเลย
  • ทะเบียนบ้าน ของตนเอง และจำเลย
  • ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส
  • รูปถ่ายการอยู่กิน
  • พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับเหตุหย่า
  • สูติบัตรบุตร
  • หลักฐานหรือตารางรายการสินสมรส
  • หลักฐานที่เกี่ยวกับหนี้สินในระหว่างสมรส
  • หลักฐานค่าเลี้ยงชีพ
  • หลักฐานค่าเลี้ยงดูบุตร

–>3.เหตุแห่งการฟ้องหย่าชาวอเมริกามีเอกสารอะไรบ้าง

ฟ้องหย่าแม้จะเป็นหารฟ้องชาวต่างชาติ แต่ใช้หลักเกณฑ์ในการหย่าของกฎหมายไทย

  1. ยกย่องหญิงอื่น/ชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้
  2. ประพฤติชั่ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่
    1. ได้รับความอับอาย
    2. ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง
    3. ได้รับความเสียหายเกินควร
  3. ทำร้ายร่างกาย หรือทรมานจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามบุพการี
  4. ทิ้งล้างอีกฝ่ายเกินหนึ่งปี
    1. ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี
    2. สมัครใจแยกกันอยู่เกิน3ปี
  5. ถูกศาลสั่งให้สาบสูญ
  6. ไม่ให้ความช่วยเหลือหรืออุปการะเลี้ยงดู หรือทำตนเป็นปฏิปักษ์
  7. วิกลจริตมาเกิน 3 ปี
  8. ผิดฑัณฑ์บนที่เคยตกลงกันไว้เป็นหนังสือ
  9. เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
  • ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

–>4.เสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ในคดีฟ้องหย่า

  • หย่าอย่างเดียว 200 บาท ค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่ามีสินสมรส เสียค่าธรรมเนียม 2 เปอร์เซ็นต์ และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ เสีย 200 บาท และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่าเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร เสีย 200 บาท และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ

–>5ฟ้องหย่า ใช้ระยะเวลาประมาณเท่าใด

  • ประมาณ2-6เดือนในศาลชั้นต้น
  • ประมาณ3เดือนถึง6เดือนในศาลอุทธรณ์

–>6ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้หรือไม่

ได้มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. คู่ความผู้ขอไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ โดยขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้อง หรือ ต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือ ชั้นฎีกา ก็ได้ ตามมาตรา 155
  2. กำหนดเวลายื่นคำร้อง ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้อง หรือที่ได้ฟ้องคดีไว้แล้ว พร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกา คำร้องสอดหรือคำให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะยื่นคำร้องในเวลาใดๆก็ได้ มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
  3. การเสนอพยานหลักฐาน ผู้ร้องอาจเสนอพยานหลักฐานไปพร้อมกับคำร้อง และหากศาลเห็นสมควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติม ศาลจะไต่สวนโดยเร็ว มาตรา 156 วรรค 2
  4. หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
    4.1 เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือ
    4.2 หากผู้ร้องไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร #เมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ หรือ ผู้อุทธรณ์ หรือฎีกา การฟ้องร้อง หรือ อุทธรณ์ หรือ ฎีกา นั้นต้องมีเหตุอันสมควรด้วย มาตรา 156/1 วรรค 2
  5. กรณีคู่ความเคยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นมาแล้ว แล้วยื่นคำร้องนั้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาอีก ให้ถือว่าคู่ความนั้นยังไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรอยู่ ตามมาตรา 156/1 วรรค 3 เว้นแต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น

–>6อุทธรณ์/ฎีกาได้หรือไม่

เป็นไปตามเงื่อนไขตามกฎหมาย

–>6ควรฟ้องหย่าหรือไม่

หากมีเหตุหย่าควรติดต่อทีมงานทนายกฤษดา เพื่อดำเนินคดีทางศาล

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments