Home ทั้งหมด ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งกับคดีอาญา

ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งกับคดีอาญา

2675

ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งกับคดีอาญา

ความจำเป็นในการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนออกจากกฎหมายมหาชนเป็นความจำเป็นที่ดำรงอยู่ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) ซึ่งใช้ในประเทศภาคพื้นยุโรปและประเทศไทยเพราะนักกฎหมายในระบบนี้เห็นว่าบทบัญญัติที่ใช้บังคับกับเอกชนต้องมีลักษณะแตกต่างจากบทบัญญัติที่ใช้กับรัฐ

 เนื่องจากแนวคิดและหลักการอันสำคัญของกฎหมายทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยในระบบกฎหมายเอกชนถือหลักว่าเอกชนหรือปัจเจกชนมีเสรีภาพในการกระทำการเพื่อก่อตั้ง เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสิทธิหน้าที่ระหว่างกันได้ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิเสรีภาพนั้นอยู่ในกรอบของกฎหมาย ส่วนในระบบกฎหมายมหาชน รัฐจะต้องใช้อำนาจโดยคำนึงถึงประโยชน์

สาธารณะเสมอ จะใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่ได้ ต้องผูกพันกับกฎหมาย กฎหมายที่ทำให้เกิดความรับผิดทางแพ่ง คือ กฎหมายแพ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชน โดยมีความมุ่งหมายในการคุ้มครองสิทธิของเอกชนที่มีต่อกัน

ส่วนกฎหมายที่ทำให้เกิดความรับผิดทางอาญา คือกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน โดยมีความมุ่งหมายในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม คุ้มครองป้องกันความปลอดภัยของสมาคมมนุษย์ กล่าวได้ว่า จะมีความรับผิดทางอาญาได้ ต้องเกิดความเสียหายแก่สมาคมมนุษย์ ขณะที่ความรับผิดทางแพ่งจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่เอกชน

กฎหมายแพ่งจึงต้องมีผลหรือความเสียหายเกิดขึ้นเสมอ ส่วน กฎหมายอาญามุ่งที่ตัวผู้กระทำผิดมากกว่าผลของการกระทำความผิด แม้ผลไม่เกิด เป็นการพยายาม กระทาความผิดกฎหมายอาญา ก็ต้องรับโทษ

1. วัตถุประสงค์ในการดำเนินคดี

กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในทางแพ่ง การดำเนินคดีแพ่ง จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของบุคคลที่มีอยู่ตามกฎหมายแพ่ง โดยเฉพาะเรื่องละเมิดซึ่งมีการขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อให้เยียวยาให้คู่กรณีฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย กลับคืนสู่ฐานะเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่ได้มุ่งเน้นการลงโทษกับชีวิตเนื้อตัวร่างกาย ของผู้กระทำผิด

ส่วนการดำเนินคดีอาญามีวัตถุประสงค์เพื่อแก้แค้นทดแทนให้ชุมชนและผู้เสียหาย เพื่อข่มขู่ผู้กระทำผิดและคนอื่นๆมิให้กระทำการฝ่าฝืนอย่างเดียวกันนั้นอีก เพื่อให้สังคมปลอดภัยโดย การตัดผู้กระทาความผิดออกจากสังคม และเพื่อให้ผู้กระทาผิดกลับตัวเป็นคนดี โดยมุ่งเน้นการลงโทษ กับชีวิต เนื้อตัวร่างกายของผู้กระทาผิด รวมถึงทรัพย์สินของผู้กระทาความผิดด้วย ความรับผิดทาง แพ่งซึ่งตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วไม่ใช่การเฉพาะตัวของเจ้ามรดกโดยแท้ ย่อมสามารถตกทอดเป็น มรดกไปยังทายาทได้ ส่วนความรับผิดทางอาญาเมื่อผู้กระทาผิดถึงแก่ความตาย ทาให้สิทธิในการนา คดีอาญามาฟ้องระงับไป ความรับผิดทางอาญาจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทาผิด ไม่ตกทอดไปยัง ทายาทของผู้กระทาผิดแต่อย่างใด หากเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีส่วนอาญาย่อมระงับไป เนื่องจากความตายของผู้กระทาความผิด แต่คดีส่วนแพ่งก็ดาเนินต่อไปตามหลักกฎหมายแพ่ง

2. อำนาจฟ้องร้อง

การดำเนินคดีแพ่งจะเริ่มต้นเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎหมายแพ่ง เช่น ผิด สัญญา หรือละเมิด รัฐจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจนกว่าคู่กรณีฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย เพราะถูกโต้แย้ง สิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งจะขอให้รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องเสียก่อน กล่าวคือ จะต้องมีการ ฟ้องร้องคดีต่อศาล โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ศาลจึงจะรับฟ้องแล้วพิจารณาพิพากษา และ บังคับคดีได้ การฟ้องคดีแพ่งจึงขึ้นอยู่กับความประสงค์ของคู่กรณีฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย รัฐไม่ อาจเรียกร้องให้มีการฟ้องคดีแพ่ง รัฐเพียงแต่จัดให้มีองค์กรและเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับการดำเนินคดีแพ่งของเอกชนเท่านั้น

 ส่วนคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาจะเริ่มต้นเมื่อมีการกระทาความผิดอาญาเกิดขึ้น รัฐมีอำนาจดาเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้โดยผู้เสียหายไม่จาเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และไม่ต้องคำนึงว่าผู้เสียหายจะติดใจให้รัฐดำเนินคดีกับผู้กระทาผิดหรือไม่ 

เว้นแต่ในคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์ของรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม118 ดังนั้นอานาจฟ้องคดีอาญาจึงเป็นของรัฐ

3. หลักในการดำเนินคดี

โดยหลักแล้วกฎหมายแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชน ในคดีแพ่งคู่ความเป็นผู้กาหนดข้อเท็จจริงที่จะนำขึ้นตีแผ่ในศาล การบังคับใช้กฎหมายแพ่งคู่กรณีอาจตกลงกันได้ โดยมิพักต้องอาศัยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่เป็นไปตามหลักความตกลง (negotiation principle)โดยคู่ความอาจตกลงกันได้ทุกเมื่อไม่ว่าคดีจะดำเนินอยู่ในชั้นใดก็ตาม ศาลจะชี้ขาดเฉพาะสิ่งที่คู่ความนาเสนอและยังไม่รับกันเท่านั้น

การดำเนินคดีแพ่งจึงมีลักษณะของการต่อสู้อย่างแท้จริง โดยศาลจะวางเฉย (passive) และคอยควบคุมการต่อสู้คดีระหว่างคู่ความให้ข้อพิพาทนั้นเป็นที่ยุติและเกิดความเป็นธรรม มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีแพ่งจะเป็นระดับการพิสูจน์ให้เห็นถึงพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่ากัน (preponderance of evidence หรือ balance of probability) โดยคู่ความในคดีซึ่งเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบแสดงให้ศาลเห็นถึงความโน้มเอียงหรือความน่าจะเป็นของข้อเท็จจริงตามที่ตนกล่าวอ้างมากกว่าข้อโต้แย้งของอีกฝ่ายหนึ่ง

ส่วนกฎหมายอาญาเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับเอกชน การบังคับใช้กฎหมายอาญาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่านั้น แม้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะเป็นที่มาของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย แต่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะนามาใช้ในวิธีพิจารณาความอาญาได้ก็ต่อเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ และบทบัญญัติที่จะนามาใช้บังคับได้จะต้องเป็นบทบัญญัติที่ไม่ฝ่าฝืนต่อหลักการตรวจสอบ

 เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาใช้หลักการตรวจสอบ (examination principle) โดยองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่ายมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบค้นหาความจริงแท้ของเรื่อง การดาเนินคดีอาญาในชั้นเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานมีหน้าที่ตรวจสอบค้นหาความจริงแท้ของเรื่องโดยไม่ผูกมัดกับคาขอหรือคาร้องของผู้ใด และในการดาเนินคดีอาญาชั้นศาลทุกฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้องกระตือรือร้นในการตรวจสอบค้นหาความจริงแท้ของเรื่องที่กล่าวหา ศาลเองจะวางเฉย (passive) ไม่ได้ การนาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในคดีอาญาโดยอาศัยมาตรา 15 นามาใช้เท่าที่พอจะใช้บังคับได้เท่านั้นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหลักความตกลงจะนามาใช้ในคดีอาญามิได้ ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าในคดีอาญาจะท้ากันไม่ได้ เพราะการท้ากันเป็นหลักของความตกลง มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญาใช้หลักการพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยตามสมควรหรือปราศจากเหตุอันควรสงสัย ( proof beyondreasonable doubt) โดยโจทก์จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นจากพยานหลักฐานของโจทก์เองว่าจาเลยได้กระทาผิดโดยปราศจากข้อสงสัย

หากยังมีข้อสงสัยจำเลยอาจไม่ใช่ผู้กระทำผิดจึงต้องปล่อยตัวจำเลยไปตามหลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

Facebook Comments