Home ทั้งหมด ที่มาและวิวัฒนาการของการฟ้องหย่าในกฎหมายไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

ที่มาและวิวัฒนาการของการฟ้องหย่าในกฎหมายไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

677

ที่มาและวิวัฒนาการของการฟ้องหย่าในกฎหมายไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

แนวคิดและวิวัฒนาการของการหย่าในกฎหมายไทย

เมื่อการหย่ามีมาแต่โบราณ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงแนวความคิดในด้านต่างๆ ทั้งด้านความเป็นมา ศาสนา รวมถึงความสาคัญของเหตุหย่าที่ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ดังจะได้ทาการศึกษาถึงการพัฒนาของแนวความคิดดังกล่าวต่อไป

แนวคิดเกี่ยวกับการหย่าในมุมมองของศาสนา

ในอดีตผู้คนนับถือศาสนาต่าง ๆ แตกต่างหลากหลาย อาทิ ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นต้น ซึ่งศาสนาเหล่านี้ล้วนเป็นศาสนาที่มีผู้คนนับถือกันมากและเป็นศาสนาที่ส่งผลต่อวิถีการดาเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งเรื่องของความคิด ความเชื่อ วิถีการดารงชีวิต แม้กระทั่งการสมรสหรือเงื่อนไขที่ทาให้การสมรสสิ้นสุดลง ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าศาสนามีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับเงื่อนไขในการหย่าร้างโดยตรงจึงต้องนามาพิจารณา เพื่อศึกษาและทาความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของศาสนาต่อเหตุหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งจะแยกพิจารณา

ตามลำดับหัวข้อ ดังนี้

 ความสัมพันธ์ของความเชื่อในพุทธศาสนาในมุมมองของไทย

ศาสนาพุทธเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่มีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผู้คนจานวนมากทั่วทุกมุมโลกนับถือศาสนานี้เป็นจานวนมาก สาหรับเรื่องที่ว่าด้วยการสมรสนั้นตามแนวคิดในทางศาสนาไม่ได้มีการวางกฎเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน แต่สามารถพิจารณาได้จากข้อความต่อไปนี้ “In Buddhism, marriage is regarded as entirely a personal,individual concern and not as a religious duty.”1สรุปความได้ว่า ศาสนาพุทธเห็นว่าการสมรสเป็นเรื่องเสรีของปัจเจกบุคคลที่มีอิสระในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่หน้าที่ในทางศาสนาที่จะต้องเข้ามีส่วนร่วมในการกระทาดังกล่าว จึงไม่ได้มีการกาหนดเป็นกฎเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แม้ว่าในทางศาสนาจะไม่ได้มีการกาหนดเป็นกฎเกณฑ์บังคับในเรื่องเช่นว่านั้น แต่ได้มีการวางแนวทาง คาแนะนา หลักคาสอนหรือหลักธรรม ในเรื่องของการใช้ชีวิตสมรสให้มี

ความสุขไว้หลายประการ อาทิ การซื่อสัตย์ต่อการเป็นสามีภริยา การไม่ประพฤติผิดศีลธรรมในทางเพศ ซึ่งคากล่าวเหล่านี้ได้ถูกคัดลอกมาจากส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกซึ่งมีความว่า “ดูก่อน คฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ก็จะได้พบกันและกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ทางศาสนาพุทธ การจะมีชีวิตสมรสที่มีความสุข ประสบความสาเร็จในชีวิตคู่และได้มาลงเอยเป็นคู่กันนั้น ทั้งชายและหญิงต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกัน คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีความเสมอกันในด้านต่างๆ จึงจะทาให้มาพบพานและครองคู่อยู่ด้วยกันเป็นสามีภริยาได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากหลักธรรมในการเลือกคู่ครอง คือ

สมชีวิธรรม 4 (Qualitieswhich make a couple well matched)

หรือที่เรียกว่า สมธรรม 4 ประการ ดังนี้

1. สมศรัทธา (To be matched in faith) คือ การมีศรัทธาเสมอกัน

อันหมายถึง ความเชื่อ ความเลื่อมใสที่เสมอกันเป็นไปในทางเดียวกัน เช่น ความเชื่อถือในลัทธิศาสนาความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยและความใฝ่นิยมในคุณค่าหรือสิ่งที่ยึดถือเข้าใจว่าเป็นความดีงามต่าง ๆความมีศรัทธาเสมอกันย่อมเป็นสิ่งสาคัญที่จะทาให้ชีวิตการครองเรือน ครองคู่ มีความแน่นแฟ้นเพราะศรัทธาเป็นเครื่องหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิด และเป็นพลังชักจูงใจในการดาเนินชีวิตและกระทากิจการต่าง ๆ

2. สมศีลา (To be matched in moral) หมายถึง การมีศีล มีความประพฤติเสมอกัน คือ มีความประพฤติที่เข้ากันได้อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจ ดูหมิ่น เหยียดหยามหรือขัดแย้งรุนแรงระหว่างกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งปากร้ายชอบกล่าวคาหยาบในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดจาสุภาพอ่อนหวาน ทาให้ไม่สามารถทนฟังคาหยาบได้หรือกรณีที่ฝ่ายหนึ่งชอบทาตัวเป็นนักเลงแต่อีกฝ่ายหนึ่งชอบชีวิตเงียบสงบ เป็นต้น อาจทาให้เกิดความร้าวฉานและเป็นเหตุให้เลิกรากันได้ เพราะความมีศีลไม่เสมอกัน

3. สมจาคา (To be matched in generosity) หมายถึง ความมีน้าใจ

ความมีใจกว้างที่สามารถช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ หรือความเสียสละที่มีเสมอเหมือนกันซึ่งคู่ครองที่มีจาคะไม่เสมอกัน เช่น มีความตระหนี่ถี่เหนียว ใจแคบ ย่อมมีโอกาสเกิดความขัดแย้งกระทบกระเทือนจิตใจกันได้อันทาให้ชีวิตครอบครัวไม่สงบสุข

4. สมปัญญา (To be matched in wisdom) หมายถึง การมีปัญญาเสมอกัน คือ ความรู้จักเหตุผล รู้จักดีชั่ว ความสามารถในการใช้ความคิดและเข้าใจในเหตุผลต่าง ๆ

Facebook Comments