Home ทั้งหมด ปัญหาครอบครัวก่อนการหย่าร้าง

ปัญหาครอบครัวก่อนการหย่าร้าง

951

ปัญหาครอบครัวก่อนการหย่าร้าง

ครอบครัวเป็นรากฐานของสังคมที่มีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง เนื่องจากครอบครัวเป็นพื้นฐานชั้นต้นหรือเรียกว่าเป็นหน่วยเริ่มต้นของสังคม ซึ่งพัฒนามาจากจุดเริ่มต้นที่เล็กที่สุด คือ การอยู่ร่วมกันของปัจเจกบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปกลายเป็นการอยู่ร่วมกันในสถานะครอบครัว เดียวกัน เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ซึ่งต่อมาสังคมเล็กเหล่านี้ได้กลายเป็นชุมชน ชนเผ่า เกิดการสั่ง สมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี สืบทอดกันไปจากรุ่นสู่รุ่น แสดงให้เห็นว่าสังคมทุกวันนี้ล้วน เริ่มต้นมาจากสังคมเล็ก ๆ ที่เรียกว่าครอบครัวตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากประเพณี บางอย่าง เช่น ประเพณีการไหว้บรรพบุรุษ ก่อให้เกิดวันรวมญาติหรือวันครอบครัว เพื่อให้ทุกคนได้ กลับมาเยี่ยมบ้าน รวมตัวพบปะพูดคุยกันระหว่างคนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งค ากล่าวที่เกี่ยวข้อง กับความเป็นครอบครัวต่อสังคม เช่น การจะเป็นคนดีในสังคมได้หรือไม่นั้นส่วนหนึ่งก็เกิดมาจากการ เลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน การปลูกฝังของครอบครัว เป็นต้น

การจะเป็นครอบครัวได้นั้นเกิดจากการที่ชายและหญิงได้ทำการสมรสกัน ซึ่งจำนวนคน ในครอบครัวไม่ว่ามากหรือน้อยล้วนทำให้เกิดความเป็นครอบครัวขึ้นได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากครอบครัว

เกิดจากความสมัครใจของทั้งชายและหญิงที่มีเจตนาร่วมกันที่จะสร้างครอบครัวเป็นของตนเอง วัตถุประสงค์ของการที่ชายและหญิงสมรสกันนอกจากเรื่องของความต้องการอยู่ร่วมกันโดยอาศัย ความรักเป็นพื้นฐานแล้วยังรวมไปถึงเรื่องของการขยายเผ่าพันธุ์มนุษยชาติต่อไปอีกด้วย ทั้งนี้การจะ เป็นครอบครัวยังต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายประการในการที่บุคคลสองคนจะมาอยู่ร่วมกัน เช่น ปัจจัย ทางด้านนิสัย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ฯลฯ

หากว่าทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับปัจจัยต่างๆ หรือข้อดี ข้อเสีย ของกันและกันได้แล้ว ครอบครัวก็จะถือกำเนิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ เพียงแต่หากเป็นกรณีการสมรสได้ ท าถูกต้องตามแบบที่กฎหมายก าหนด เช่น กฎหมายไทยการสมรสจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อได้มี การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแล้วเท่านั้น

หากการสมรสนั้นเกิดเหตุปัจจัยบางประการที่ทำให้ต้องสิ้นสุดลงหรือไม่อาจดำรง สถานะครอบครัวได้อีกต่อไป การสมรสนั้นก็ย่อมต้องสิ้นสุดลง ดังตัวอย่างกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ มีกฎหมายว่าด้วยครอบครัวในเรื่องเกี่ยวกับสถานะของการสิ้นสุดการสมรส คือ การ สมรสได้แตกสลายจนไม่อาจกลับคืนมาได้อีกแล้ว (The   marriage   has   broken   down irretrievably)  เช่น การประพฤติชู้ การที่ต่างฝ่ายต่างมีลักษณะของการแยกกันอยู่ การประพฤติปฏิบัติที่ไม่พึงคาดหวังว่าจะอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไป เป็นต้น เช่นนี้ศาลของประเทศอังกฤษย่อมพิพากษา

ให้หย่าขาดจากกันได้ กรณีตามกฎหมายไทยมีกฎหมายบัญญัติในเรื่องการสิ้นสุดของการสมรสใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวดที่ 6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส กล่าวคือ การสมรส จะสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า และศาลพิพากษาให้เพิกถอน ส าหรับกรณีการหย่ามีสองวิธี วิธี แรกคือ การหย่าโดยความยินยอม เป็นกรณีที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันที่จะยุติความสัมพันธ์ระหว่างกัน และอีกวิธีหนึ่ง คือการหย่าโดยค าพิพากษาของศาล

กรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล กฎหมายได้กำหนดเหตุแห่งการฟ้องหย่าไว้อย่าง รัดกุม เมื่อคู่สมรสต้องการหย่าขาดจากกันคู่สมรสจะต้องทำการฟ้องหย่าต่อศาล

ทั้งนี้ต้องเป็นเหตุหย่า ตามที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 1516 มีกำหนด 12 เหตุเท่านั้น หากเป็นกรณีอื่นๆ นอกจากเหตุที่ กฎหมายกำหนดแล้วย่อมทำไม่ได้ ศาลจะไม่ตัดสินให้หย่าขาดจากกัน ทำให้บางครั้งหากเกิดกรณี ปัญหาที่คู่สมรสต้องการจะหย่าแต่ไม่มีเหตุหย่าตามที่กฎหมายก าหนด ส่งผลให้ทั้งคู่จำต้องใช้ชีวิตอยู่ ร่วมกันต่อไป ท าให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีกมากมาย อาทิ ความรุนแรงในครอบครัว ความไม่ผาสุกของผู้ อยู่อาศัยร่วมกันในครัวเรือนหรือบางครั้งก็กลายเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็กในครอบครัวนั้น

ทั้งนี้ปัญหาการหย่าร้างที่น่าสนใจ มีดังนี้ ตัวอย่างที่ 1 กรณีสามีภริยาสมรสกัน มีการจด ทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายแต่ฝ่ายสามีจำเป็นต้องไปทำงานต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ซึ่ง สามียังส่งเงินมาให้ภริยาใช้อยู่บ้าง ทั้งนี้หากว่าความต้องการหย่านั้นเกิดจากตัวของภริยาเองที่มีความ ต้องการดังกล่าวแต่ฝ่ายภริยาไม่สามารถอ้างเหตุว่าสามีทิ้งร้างตนไปหรืออ้างเหตุว่าสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันโดยปกติสุขได้ เนื่องจากกรณีจะเป็นการทิ้งร้างที่เป็นเหตุฟ้องหย่านั้น ต้องเป็น กรณีจงใจเท่านั้น แต่จากข้อเท็จจริงไม่ใช่การจงใจทิ้งร้างของสามีและไม่ใช่สมัครใจแยกกันอยู่เพราะ เหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันโดยปกติสุขด้วย เพราะสามีต้องไปท างานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น เช่นนี้ศาลย่อมไม่พิพากษาให้หย่า เนื่องจากไม่เป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516

ตัวอย่างที่ 2 กรณีฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่า ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายจากการกระท าอันเป็น เหตุหย่า แต่ไม่ยอมใช้สิทธิดังกล่าวโดยอาจเป็นเพราะฝ่ายนี้ยังไม่พร้อมที่จะหย่าหรืออาจเป็นเพราะ ต้องการกลั่นแกล้งอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นตามกฎหมายย่อมไม่ถือเป็นเหตุฟ้องหย่า เนื่องจากฝ่ายที่ กระท าให้เกิดเหตุหย่าเองไม่สามารถเป็นผู้ที่มาฟ้องหย่าได้ พิจารณาได้จากกฎหมายมาตรา 1516 มี การบัญญัติถ้อยคำไว้ว่า “….อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้….” ดังนั้นเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิแต่ไม่ใช่สิทธิ ฝ่ายที่ไม่มี

สิทธิมาแต่ต้นจึงไม่สามารถเป็นผู้ที่มาฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต่อศาลได้

ตัวอย่างที่ 3 กรณีความต้องการหย่าของคู่สมรสไม่ได้เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติ ชั่วหรือไม่ได้เกิดจากการท าร้ายหรือทรมานกัน ฯลฯ แต่เกิดจากปัญหาครอบครัวที่สะสมมานานหรือ อาจเป็นกรณีที่ฝ่ายหนึ่งไม่อาจทนใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกันกับอีกฝ่ายได้อีกต่อไปแต่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นไม่

Facebook Comments