ผู้เสียหายคืออะไร ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
หลายท่านอาจะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วความหมายของผู้เสียหาย นั้นคืออะไร หมายความว่าอะไร ทีมงานทนายกฤษดา จะขออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ ผู้เสียหายเป็นข้อๆ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้นิยามของคำว่า “ผู้เสียหาย ไว้ใน มาตรา ๒ (๔) “หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการ กระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ ๖
ความหมายของผู้เสียหาย
๑) ความหมายของผู้เสียหายที่ว่า “บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจาก การกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง” การที่จะถือว่าบุคคลใดเป็นบุคคลผู้เสียหายตาม มาตรา ๒ (๔) จะต้องมีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น และการกระทำผิดนั้นได้กระทำ ต่อบุคคลใดอันทำให้บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดไม่ว่าจะเป็น ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่ง อย่างใด บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้เสียหายตามมาตรา ๒ (๔) ข้อสำคัญ บุคคลผู้ได้รับ ความเสียหายนั้นยังจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
อะไรคือผู้เสียหายโดยนิตินัย
ผู้เสียหายโดยนิตินัย หมายความว่า บุคคลผู้ที่ได้รับความเสียหายจะต้อง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด หรือมิได้มีส่วนที่ทำให้การกระทำผิดนั้นเกิดขึ้น มิฉะนั้น ย่อมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามมาตรา ๒ (๔) และเป็นเพียงผู้เสียหาย โดยพฤตินัยซึ่งไม่เป็นผู้เสียหายตามมาตรา ๒ (๔) นี้
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
ฎีกาที่ ๑๐๕๑๐/๒๕๕๕ ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักข่าวได้รับการร้องเรียน พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่หลอกลวงขายเหล็กไหลจากผู้ชมรายการของผู้เสียหาย จึงวางแผนพิสูจน์การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเพื่อให้มีการจับกุมมาลงโทษ หลังจากที่มีการติดต่อกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวจนทราบแน่ชัดว่ามีพฤติกรรมในการ หลอกลวงจริง จึงประสานกับเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุมโดยผู้เสียหายนำเงิน ที่จะต้องวางประกันในการทำสัญญาจะซื้อจะขายเหล็กไหลไปลงบันทึกประจำวัน ไว้เป็นหลักฐานก็เพื่อจะได้เป็นหลักฐานของการกระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่ ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเอง โดยการหลอกล่อกลุ่ม บุคคลดังกล่าวซึ่งก็คือจำเลยทั้งห้ามากระทำความผิดอันเป็นการก่อให้จำเลยทั้งห้า