Home ทั้งหมด การฟ้องดำเนินคดีอาญาในประเทศเยอรมนี

การฟ้องดำเนินคดีอาญาในประเทศเยอรมนี

1617

การฟ้องดำเนินคดีอาญาในประเทศเยอรมนี

การดำเนินคดีอาญาในประเทศเยอรมนีมาจากแนวความคิดว่ารัฐเป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมเช่นเดียวกับฝรั่งเศส รัฐเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องดาเนินคดีอาญา ซึ่งพนักงานอัยการเป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว โดยระบบอัยการของฝรั่งเศสถือเป็นแบบอย่างของอัยการประเทศเยอรมนีและประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรป ในประเทศเยอรมนีพนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวนฟ้องร้องทั้งหมด

ตำรวจเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานอัยการเช่นเดียวกับฝรั่งเศส ในทางคดีตำรวจเป็นเพียงองค์กรที่ทาหน้าที่สอบสวนของพนักงานอัยการ โดยตารวจมีหน้าที่ติดตามการกระทาผิดอาญาและรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญา

เพื่อส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาต่อไป หากพนักงานอัยการเห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอให้เชื่อว่าผู้ต้องหากระทำความผิดอาญา พนักงานอัยการต้องฟ้องดาเนินคดี

ซึ่งพนักงานอัยการเยอรมันใช้หลักการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย การฟ้องคดีอาญาเป็นอำนาจของพนักงานอัยการเท่านั้น ถ้ามีพยานหลักฐานเพียงพอ พนักงานอัยการจำเป็นต้องฟ้องคดีอาญาทุกคดีเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

อัยการจะไม่ดำเนินคดีก็ได้ถ้าเป็นข้อหาดังต่อไปนี้

 แต่ในบางกรณีพนักงานอัยการอาจไม่ฟ้องดำเนินคดีกับผู้ต้องหา หลักการดาเนินคดีอาญาตามกฎหมายของเยอรมันมีข้อยกเว้นอยู่ 7 กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน มาตรา 153-154 E ดังนี้

1. กรณีคดีความผิดเล็กน้อย พนักงานอัยการอาจไม่ดำเนินคดีได้

(1) ในความผิดอาญาโทษปานกลาง ถ้าพิจารณาเห็นว่าความชั่วของผู้ต้องหามีน้อยและการดาเนินคดีอาญานั้นไม่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ

(2) ในความผิดอาญาที่ตามกฎหมายศาลอาจไม่ลงโทษผู้กระทำได้

(3) ในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง ถ้าเห็นว่าโทษหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่เกี่ยวพันกับโทษหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่ได้มีคาพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว หรือที่จะลงโทษหรือกาหนดใช้แก่ผู้กระทำผิดนั้นเล็กน้อยหรือเบาไม่มีน้าหนักเลย

(4) ในการกระทาบางอย่างซึ่งแยกออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากได้ และเกี่ยวกับการ

กระทำนั้นเป็นที่คาดหมายว่าโทษหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จะลงหรือกาหนดใช้นั้นไม่มีน้าหนักพนักงานอัยการอาจจำกัดการสอบสวนดำเนินคดีอาญาเฉพาะการกระทาในส่วนอื่นของความผิด หรือเฉพาะบางฐานความผิดได้

(5) ในความผิดอาญาโทษปานกลาง อาจวางข้อกาหนดให้ผู้ต้องหาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยกรณีนั้นความชั่วของผู้ต้องหาต้องมีน้อย และการดาเนินคดีนั้นไม่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ

2. กรณีคดีที่เกียวเนื่องกับต่างประเทศ พนักงานอัยการอาจไม่ดำเนินการตามหน้าที่ได้

(1) ในความผิดอาญาที่ได้กระทำลงในต่างประเทศ หรือที่ตัวการในความผิดอาญาทีกระทำลงในต่างประเทศนั้นได้กระทำในส่วนของตนในประเทศ

(2) ในคดีอาญาที่คนต่างด้าวได้กระทาผิดในเรือหรืออากาศยานต่างประเทศขณะที่เรือหรืออากาศยานนั้นอยู่ในอาณาเขตของประเทศ

(3) ในความผิดอาญาที่ผู้กระทำได้กระทำในต่างประเทศและผู้นั้นได้ถูกศาลในต่างประเทศพิพากษาลงโทษและพ้นโทษแล้ว หรือได้มีคาพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น

(4) ในความผิดที่อาจส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้ต่างประเทศหรือที่อาจเนรเทศออกไปจากประเทศได้

3. กรณีความผิดอาญาเกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของรัฐ พนักงานอัยการอาจใช้

ดุลพินิจได้ใน 2 กรณี คือ

(1) ในกรณีที่เนื่องจากข้อหาของความผิดโดยตรง เช่น ข้อหากบฏ

(2) ในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับข้อหาโดยตรง แต่การดาเนินคดีกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ในความผิดที่ผลของการกระทำเกิดในประเทศโดยการกระทำได้กระทำลงในต่างประเทศ เหล่านี้พนักงานอัยการอาจไม่ดำเนินคดี ถ้าเห็นว่าการดาเนินคดีจะนาผลเสียหายอย่างยิ่งมาสู่ประเทศในแง่ความปลอดภัยและ ความมั่นคงของรัฐ หรือเห็นว่าการดาเนินคดีนั้นขัดต่อผลประโยชน์สาธารณะอันสาคัญของประเทศ

4. กรณีคดีอาญาที่ผู้กระทาผิดกลับใจและช่วยป้องกันผลร้าย

พนักงานอัยการ อาจไม่ดำเนินคดีในคดีที่มีข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐโดยตรง ถ้าหลังจากกระทำผิด ผู้กระทำผิด ได้ทาการป้องกันภัยอันเกี่ยวแก่ความมั่นคงหรือความปลอดภัยของรัฐ หรือระเบียบแบบแผนตาม รัฐธรรมนูญ

5. กรณีคดีอาญาของเหยื่อในความผิดอาญาฐานกรรโชกหรือรีดเอาทรัพย์

ในกรณีที่ความผิดอาญาฐานกรรโชกหรือรีดทรัพย์ได้ถูกกระทาลง โดยการขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความผิด อาญาใดความผิดอาญาหนึ่ง การที่กฎหมายให้อานาจพนักงานอัยการอาจไม่ดาเนินคดีในความผิด อาญาที่ถูกขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยนั้นได้ ถ้าความผิดอาญานั้นไม่เป็นความผิดอาญาที่ร้ายแรง ในกรณีนี้ก็ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ถูกขู่เข็ญได้เปิดเผยเรื่องราวที่ตนถูกขู่เข็ญได้

6. กรณีคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับคำตัดสินคดีแพ่งหรือคดีปกครอง

ในกรณีที่การ ยื่นฟ้องคดีอาญาโทษปานกลาง เกี่ยวเนื่องกับคาวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งหรือคดีปกครอง พนักงานอัยการ อาจไม่ดำเนินคดีอาญานั้น โดยปล่อยให้มีการดำเนินแต่คดีแพ่งหรือคดีปกครอง การให้โอกาสพนักงาน อัยการที่อาจไม่ฟ้องคดีอาญาในกรณีนี้ได้ ก็เพื่อเป็นการขัดขวางมิให้ผู้กล่าวหาใช้การยื่นฟ้องคดีอาญา ของพนักงานอัยการเป็นเครื่องมือในการดาเนินคดีประเภทอื่น

7. กรณีความผิดอาญาฐานแจ้งความเท็จ ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาท

พนักงานอัยการชอบที่จะยังไม่ดาเนินคดีอาญาฐานแจ้งความเท็จ ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทตลอดเวลาที่ คดีอาญาหรือคดีประเภทอื่นเนื่องจากการแจ้งความเท็จ ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทนั้นยังดาเนินอยู่ แม้พนักงานอัยการในประเทศเยอรมนีจะใช้หลักการดำเนินคดีอาญาตาม กฎหมายก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นหลักการดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงาน อัยการใช้ดุลพินิจได้

โดยการใช้ดุลพินิจดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้อย่างเข้มงวดตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาคดีอาญาเยอรมัน ในความผิดฐานที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนบุคคล เช่น ความผิดฐานบุกรุก ดูหมิ่น และหมิ่นประมาท ทาร้ายร่างกาย และทาให้เสียทรัพย์

แม้พนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินคดีความผิดดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่พนักงานอัยการจะฟ้องคดีเช่นว่านั้นได้ ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อตารวจหรือพนักงานอัยการภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึง การกระทาความผิดและรู้ตัวผู้กระทาความผิด หากพนักงานอัยการมีคาสั่งไม่ฟ้อง ผู้เสียหายอาจยื่นคา ร้องคัดค้านคาสั่งไม่ฟ้องต่ออัยการสูงสุดแห่งรัฐนั้น แต่ไม่อาจอุทธรณ์คาสั่งดังกล่าวต่อศาลได้

ในระบบกฎหมายอาญาเยอรมันมีความผิดอาญาที่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของ ผู้เสียหายเป็นสาคัญอยู่ 2 ประเภท คือ

1. ความผิดที่ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ (Antragsdelikt)

เทียบได้กับความผิดอันยอมความ ได้ตามกฎหมายอาญาของไทย เมื่อมีการกระทำผิดอาญาประเภทนี้เกิดขึ้น สามารถสอบสวนได้ ก่อนมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย แต่หากผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์ พนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญา ดังกล่าวไม่ได้

2. ความผิดที่ผู้เสียหายต้องให้อำนาจ (Ermächtigungsdelikt)

เป็นความผิดที่ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้เสียหายว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ กล่าวคือ ผู้เสียหายต้องมอบอำนาจให้ พนักงานอัยการดำเนินคดีกับผู้กระทาผิดก่อน พนักงานอัยการจึงจะสามารถเริ่มทาการสอบสวนได้ จึง เป็นความผิดที่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้เสียหายอย่างแท้จริง ในประเทศเยอรมนีกฎหมายได้กาหนดความผิดอาญาที่ผู้เสียหายมีอานาจ ฟ้องร้องดาเนินคดีได้ด้วยตนเองไว้ในมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เยอรมัน ซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับเอกชนและมีลักษณะเป็นการส่วนตัวอยู่อย่างมาก โดย เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ ความผิดอาญา ฐานบุกรุก ความผิดอาญาฐานเปิดจดหมายผู้อื่น ความผิดอาญาฐานทาร้ายร่างกาย ความผิดอาญา ฐานขู่เข็ญผู้อื่น ความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ ความผิดอาญาฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาท และ ความผิดอาญาบางฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า กฎหมายสิทธิบัตร แบบแผน แบบ เครื่องอุปโภค เครื่องหมายการค้า การเลียนแบบ และลิขสิทธิ์ สาหรับความผิดเหล่านี้ผู้เสียหาย สามารถฟ้องคดีดังกล่าวได้เอง โดยไม่ต้องรอให้พนักงานอัยการสอบสวนหรือฟ้องคดีเสียก่อน ซึ่ง ความผิดเหล่านี้พนักงานอัยการจะยื่นคาร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ก็ต่อเมื่อเห็นว่าการฟ้องคดีนั้นเป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะเท่านั้น จึงไม่เป็นการตัดอานาจพนักงานอัยการ ดังนั้นการฟ้องคดีของ ผู้เสียหายอาจถูกพนักงานอัยการเข้าแทรกแซงได้เสมอ โดยพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็น โจทก์กับผู้เสียหายในคดี พนักงานอัยการจะเข้ามาเป็นโจทก์ผู้รับผิดชอบโดยตรง ส่วนผู้เสียหายจะมี บทบาทในการดาเนินคดีเป็นรองจากพนักงานอัยการทันที โดยผู้เสียหายจะกลายเป็นโจทก์ร่วมและมี สิทธิต่างๆในฐานะคู่ความ

Facebook Comments