เจตนาในการคุ้มครองลูกหนี้หรือจำเลยในการถูกบังคับคดี ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์จนคดีถึงที่สุดแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่กฎหมายก็ยังคงมี
เจตนารมณ์ในการคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้สามารถดำรงชีพต่อไปได้ ดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำ
พิพากษาจึงไม่อาจบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินทั้งปวงของจำเลยจนสิ้นเนื้อประดาตัวได้ ดังเช่นคำพิพากษา
ศาลฎีกานี้เป็นต้น
มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินไว้ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๘๑/๒๕๖๒
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาบัตรเครดิต ธนาคารโจทก์ทวงถามและบอกเลิกสัญญาแล้วจึงฟ้องเป็นคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงได้ขอศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี แสดงว่าโจทก์ประสงค์
จะบังคับชำระหนี้โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๖ (๓) เดิม บัญญัติว่าภายใต้บังคับบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายอื่นเงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการ
บังคับคดีฯ (๑) เงินเดือน ค่าจ้าง ป่านาญ ค่าชดใช้เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน
ลูกจ้าง หรือคนงานนอกจากที่กล่าวไว้ใน
(๒) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิต
อยู่ของบุคคลเหล่านั้นเป็นจำนวนรวมกันเดือนละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ซึ่ง
บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงานสามารถดำรง
ชีพต่อไปได้ โดยยังมีรายได้เลี้ยงชีพตนและครอบครัวต่อไปได้บ้าง จึงคุ้มครองมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับ
คดีจนหมดและไม่สามารถดำรงชีพต่อไปได้ ดังนั้น การที่โจทก์หักเงินซึ่งเป็นเงินเดือนส่วนที่เหลือที่นายจ้างโอน
เข้าบัญชีเงินฝากของจําเลย ที่ธนาคารโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้
ระหว่างกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๔๑ ย่อมไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงชอบที่จะคืนเงินที่
หักไปดังกล่าวกลับคืนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย ณ วันที่โจทก์หักเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าว แล้วใช้สิทธิใน
การบังคับคดีทางเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อไป