กรณีจําเลยให้การปฏิเสธชั้นพนักงานสอบสวน แต่ให้การรับ สารภาพในชั้นพิจารณา
สําหรับกรณีที่จําเลยได้มาอยู่ต่อหน้าหรือเผชิญหน้ากับพนักงาน สอบสวนเป็นครั้งแรกแล้วนั้น กฎหมายได้รับรองและคุ้มครองผู้ต้องหาให้มีสิทธิประการหนึ่งที่สําคัญ คือ “ผู้ต้องหามีสิทธิไม่ให้การก็ได้”ซึ่งสามารถพิจารณาตัวบทในเบื้องต้นได้ดังนี้
มาตรา 134/4 บัญญัติว่า “ในการถามคําให้การผู้ต้องหา ให้พนักงาน สอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า (๑) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้ องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ … เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคําให้การไว้ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้ ถ้อยคําใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง … จะรับฟังเป็นพ ยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได” อาจกล่าวได้ว่าผู้ต้องหาไม่มีหน้าที่ให้ความร่วมมือเป็นภาระของโจทก์ต้อง พิสูจน์ให้ศาลเห็น และถึงแม้โจทก์จะปฏิเสธโดยให้การเท็จก็ไม่เป็นความผิด กล่าวคือผู้ต้องหาอาจจะ ไม่ให้ถ้อยคําใดๆ แก่พนักงานสอบสวนเลยก็ได้ถ้าไม่ให้การใดๆเลยก็ให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ หรือถ้าหากให้ถ้อยคําแม้จะเป็นความเท็จก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
(คําพิพากษาฎีกาที่ 1093/2522) เพราะผู้ต้องหาให้การรับหรือให้การปฏิเสธอย่างใดก็ได้การให้การที่ไม่ตรงต่อความจริง ก็เป็นการให้การปฏิเสธอย่างหนึ่งอันเป็นสิทธิที่ผู้ต้องหาสามารถกระทําได้ ทั้งนี้มีข้อสังเกตอีกว่า ในการให้การปฏิเสธนั้น หากผู้ต้องหานําเอกสารมา ใช้ประกอบในการให้การปฏิเสธให้ดูสมจริง คําพิพากษาฎีกาที่ 2987/2547 วินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาไม่ผิด ฐาน “ใช้เอกสารปลอม” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกาได้ให้เหตุผลว่าการ กระทําของผู้ต้องหาเท่ากับให้การปฏิเสธในฐานนะเป็นผู้ต้องหาเมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาไว้ ตาม มาตรา 134/4 คือ ผู้ต้องหาจะให้การรับหรือปฏิเสธอย่างใดก็ได้เช่นนี้การกระทําของผู้ต้องหา แม้ว่าเอกสารที่นํามาอ้างจะเป็นเอกสารปลอม ก็จะเอาผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมไม่ได้ 66 เมื่อ ทราบถึงสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาในการเผชิญหน้ากับพนักงานสอบสวนแล้วว่ามีสิทธิที่กฎหมาย ยอมรับเป็นประการใด