Home ทั้งหมด ให้การรับสารภาพ ควรพิจารณาเรื่องอะไรบ้างในคดีต่างประเทศ

ให้การรับสารภาพ ควรพิจารณาเรื่องอะไรบ้างในคดีต่างประเทศ

665

The Federal Omnibus Crime Control and Safe Streets Act 1968 Tittleill Section 3501 ซึ่งได้วางหลักสําหรับการพิจารณาเกี่ยวกับคํารับสารภาพไว้ดังนี้

1. ในการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีทางอาญาใน United States และ The District of Columbia คํารับรับสารภาพที่สามารถยอบรับฟังเป้นพยานหลักฐานได้นั้นจะต้อง กระทําด้วยความสมัครใจ โดยก่อนที่คํารับสารภาพจะถูกยอมรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ผู้พิพากษาที่ พิจารณาตัดสินคดีจะต้องพิจารณาในเบื้องต้นก่อนว่า คํารับสารภาพนั้นได้กระทําโดยสมัครใจหรือไม่ ก่อนที่จะนํามาเสนอและแสดงแต่ลูกขุน (jury) ต่อไป ถ้าหากผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีเห็นว่า คํารับ สารภาพได้กระทําโดยสมัครใจแล้ว จะถูกยอมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีและส่งให้ลูกขุนพิจารณา พยานที่เกี่ยวข้องที่แสดงความสมัครใจพร้อมกับแนะนําลูกขุนที่จะใช้ดุลพินิจให้น้ําหนักแก่ พยานหลักฐานจากคํารับสารภาพนั้น โดยให้พิจารณาจากจากพฤติการณ์แวดล้อมทั้งหมดของคดี

2. การกําหนดความสมัครใจในคํารับสารภาพของผู้พิพากษาจะต้อง พิจารณาจากพฤติการณ์แวดล้อมทั้งหมดที่นํามาสู่คํารับสารภาพ อันประกอบด้วย

2.1 ระยะเวลาที่ผ่านไประหว่างการจับและการนําตัวมาฟ้องศาล ถ้า หากคํารับสารภาพได้ให้ภายหลังการถูกจับและก่อนฟ้อง

2.2 จําเลยได้รู้ถึงลักษณะของความผิดตามที่ถูกกล่าวหา หรือที่เขามี พฤติการณ์ต้องสงสัยในเวลาที่ให้คํารับสารภาพหรือไม่

2.3 จําเลยถูกแนะนําหรือรู้ว่าเขาไม่ถูกกําหนดให้ต้องพูดถ้อยคําใดๆ และว่าคําพูดใดๆ ที่เขาพูดสามารถใช้ยันเขาได้หรือไม่

2.4 จําเลยถูกแนะนําก่อนการถามถึงสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจาก ทนายหรือไม่และ

2.5 จําเลยไม่ได้รับการช่วยเหลือจากทนายเมื่อถูกถาม และเมื่อให้คํารับ สารภาพหรือไม่

3. ในการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีทางอาญาใน United States และ The District of Columbia คํารับสารภาพของจําเลยในขณะที่อยู่ภายใต้การจับกุมหรือการควบคุม ของเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจบังคับใช้กฎหมายหรือตัวแทน จะไม่เป็นสิ่งที่รับฟังไม่ได้เพียงเพราะว่ามีการ หน่วงเหนี่ยวการนําจําเลยมาพบ Magistrate (ศาลแขวง) หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอํานาจของ United States หรือ The District of Columbia เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีพบว่าคํารับสารภาพนั้นได้มา ด้วยความสมัครใจ แต่ลูกขุนมิได้ให้น้ําหนักแก่พยานหลักฐานจากคํารับสารภาพนี้และคํารับสารภาพ ถูกทําหรือได้รับมาภายในหกชั่วโมงนับแต่เวลาที่จับกุมหรือเวลาที่ควบคุมนั้น แต่ไม่รวมถึงระยะเวลา ในการเดินทางไปยังที่ทําการของ Magistrate หรือเจ้าพนักงานอื่นที่ใกล้ที่สุด

4. หลัก Miranda rule ไม่เป็นอุปสรรคต่อการรับฟังคํารับสารภาพเป็น พยานหลักฐานเมื่อผู้ต้องสงสัยให้คํารับสารภาพโดยสมัครใจต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานและคํา รับสารภาพนั้นมิได้อยู้ภายใต้การสอบสวน การจับกุม หรือการควบคุมใดๆ

5. คํารับสารภาพในที่นี้หมายถึง คํารับสารภาพในความผิดทางอาญา หรือถ้อยคําที่เป็นการปรักปรําตนเอง ซึ่งอาจกระทําโดยปากเปล่าหรือการเขียนก็ได้

นอกจากนี้ในคดี Miranda ศาลยังได้วางหลักเกี่ยวกับการสละสิทธิตาม คําเตือน Miranda Warning ว่าการสละสิทธิตามรัฐธรรมนูญจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ ต้องกระทําด้วยความรู้และมีความรู้สึกผิดชอบที่จะสละสิทธิดังกล่าว และจะต้องกระทํา ภายหลังการเตือน การสละสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ The Fifth Amendment ซึ่ง เป็นเอกสิทธิ์ที่จะไม่ให้การปรักปรําตนเองก็เหมือนกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ที่สามารถสละได้ (Couselmen v. Hitctcock, 1972; Molloy v. Hogan, 1964)40

การสละสิทธินี้ศาลจะไม่ตั้งข้อ สมมุติฐานไว้ก่อนว่าจําเลยได้สละสิทธิจนกว่าจะมีคําให้การด้วยเจตนาของจําเลยไม่ว่าด้วยปากเปล่า หรือด้วยการเขียนก็ตาม และไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยายก็ตาม ว่าเขาได้สละสิทธิดังกล่าว ศาลจะไม่ ต้องสมมุติฐานว่าจําเลยได้สละสิทธิโดยการไม่ยอมให้การ (Mullaney v. United Stated,1968)หรือ การยอมให้การ (Commonwealth v. Bussey,1979) ภายหลังการให้คําเตือนแล้ว ศาลจะต้อง พิจารณาจากพฤติการณ์แวดล้อมทั้งหมดด้วย เช่น อายุการศึกษา สติปัญญา ประสบการณ์สภาวะ ทางกาย รวมทั้งจํานวนของผู้สอบสวน และเทคนิควิธีที่ใช้ในการสอบสวน เป็นต้น โดยการสละสิทธิ

อาจกําหนดหลักเกณฑ์ได้เบื้องต้นดังนี้

1. การสละสิทธิจะมีผลต่อเมื่อผู้ต้องสงสัยตกอยู่ในที่ควบคุม หรือเสรีภาพ ของเขาถูกจํากัดในวิถีทางที่สําคัญแล้ว การสละสิทธิไว้ล่วงหน้าไม่อาจที่จะกระทําได้

2. ก่อนที่จะสละสิทธิผู้ต้องสงสัยจะต้องได้รับการเตือนตาม Miranda Rules จนเข้าใจกระจ่างแจ้งทั้งหมด

3. เจ้าพนักงานจะต้องถามก่อนว่า เขาสละสิทธิหรือไม่ แม้ว่าการถาม เช่นนั้น จะเป็นการเชิญชวนให้สละสิทธิก็ตาม 4. ผู้ต้องสงสัยจะต้องกระทําโดยรู้ถึงสิทธิและโดยรู้สึกผิดชอบในการ กระทําและ

5. ผู้ต้องสงสัยอาจถอนการสละสิทธิเมื่อใดก็ได้และในทํานองเดียวกัน แม้จะสละสิทธิแล้วก็อาจจะกลับมาใช้สิทธิตาม Miranda Rules อีกเมื่อใดก็ได้เป็นต้น

Facebook Comments