Home ทั้งหมด ยักยอกและลักทรัพย์ แตกต่างกันอย่างไร

ยักยอกและลักทรัพย์ แตกต่างกันอย่างไร

2987

ยักยอกและลักทรัพย์ แตกต่างกันอย่างไร

ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดของความผิดฐานยักยอกและลักทรัพย์ คือ “ยักยอก” นั้น ผู้กระทำ “ครอบครอง” ทรัพย์ของผู้อื่น หรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในขณะ ที่ทำการยักยอก ดังนั้น ความผิดฐานยักยอกจึงบัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งจะคุ้มครอง “กรรมสิทธิ์ แต่เพียงอย่างเดียว

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะเป็นความผิดฐานยักยอกจะต้องมีการกระทำ อันเป็นการทำร้าย “กรรมสิทธิ์” ในทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งรวมถึง “กรรมสิทธิ์รวม” ด้วย) ไม่มี การทำร้าย “การครอบครอง” ของผู้อื่นด้วย เพราะผู้ยักยอกเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ แล้ว

ตัวอย่าง ขาวเช่ารถยนต์ของแดงขับไปต่างจังหวัด ระหว่างทางได้แอบเอารถยนต์ ของแดงไปขายให้เหลือง ขาวผิดฐานยักยอกเพราะเบียดบังทรัพย์ของแดงเป็นของตนโดยทุจริต ขาวมีการกระทําอันเป็นการทําร้าย “กรรมสิทธิ์” ของแดง

ตัวอย่าง ขาวและเขียวเป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันหนึ่ง ในขณะที่ขาวขับรถยนต์ คันนั้นไปต่างจังหวัด ได้แอบเอารถยนต์ไปขายให้เหลือง ขาวผิดฐานยักยอกโดยขาวมีการ กระทำอันเป็นการทำร้าย “กรรมสิทธิ์รวม” ของเขียวในรถยนต์คันนั้น ผู้ที่ยักยอกนั้น อาจครอบครองทรัพย์นั้นร่วมกับเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งก็ได้

ข้อสังเกต หากทรัพย์นั้นมิได้อยู่ใน “ความครอบครอง” ของผู้กระทำ การกระทำ ก็ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก หากผู้กระทำเอาไปอาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จุดสำคัญ ที่สุดคือเรื่อง “การครอบครอง” เช่น ฎีกาที่ ๗๒๖๔/๒๕๔๒ (ฎ.ส.ล. ๑๑, น. ๒๑๖) วินิจฉัยว่า พนักงานของธนาคารมีหน้าที่รับและจ่ายเงินที่ลูกค้ามาฝากและถอนแทนธนาคาร จึงมี อานาจยึดถือเงินสดของธนาคารไว้เพียงชั่วระยะทำการ ธนาคารหาได้ส่งมอบเงินสดให้ อยู่ในความครอบครองของพนักงานไม่ เมื่อพนักงานเอาเงินสดไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิ อันเป็นการทุจริต จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ ความผิดฐานยักยอก ข้อสังเกต เมื่อ ศาลฎีกาถือว่าเงินอยู่ในความครอบครองของธนาคาร การที่พนักงานเอาเงินไปจึงเป็น การทำร้าย “กรรมสิทธิ์” ในทรัพย์ของธนาคารและเป็นการทำร้าย “การครอบครอง

Facebook Comments