Home ทั้งหมด การสละมรดก ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การสละมรดก ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

3291

การสละมรดก ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การสละมรดก (ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๑๐ ถึงมาตรา ๑๖๑๙ ดูประกอบ)

คำว่า สละ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า สละ หมายถึง การผละ ละทิ้ง ละวาง หรือการเสียสละ ส่วนคำว่ามรดกนั้นได้ กล่าวอธิบายไว้แล้ว ดังนั้น การสละมรดก ก็คือ การละทิ้ง หรือผละออก ที่จะไม่ยอมเข้าไป ยุ่งเกี่ยวคือการที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในการรับมรดกที่ตนควรจะได้รับ

ในเรื่องของการสละมรดกนั้น มีวิธีการอย่างไร

การสละมรดกนั้น จะต้องแสดงเจตนาที่จะไม่รับมรดก โดยจะต้องทำเป็นหนังสือ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ อนึ่งการที่ทายาทจะสละ มรดกได้นั้น ต้องเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับมรดกแล้ว ซึ่งทายาทที่จะสละมรดกนั้นอาจเป็นทายาท โดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม การที่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมสละมรดกในขณะที่ เจ้ามรดกยังไม่ตายโดยเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ย่อมกระทําไม่ได้

การสละมรดกนั้นต้องเป็นการสละมรดกส่วนของตนเท่านั้น และการสละมรดกส่วน ของตนที่ได้สละแล้วนั้นย่อมตกแก่กองมรดก แต่จะสละเพื่อทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้ อีกทั้ง การสละมรดกในทรัพย์รายการหนึ่งเพื่อขอเลือกเอาทรัพย์รายการอื่นหรือการยอมรับโดย แบ่งทรัพย์น้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ก็ไม่ถือว่าทายาทผู้นั้นสละมรดกสำหรับจำนวนส่วนแบ่งที่ ขาดไป อนึ่งแม้การทำสัญญาประนีประนอมยอมความสละมรดกตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย ก็ หาอาจทำได้ไม่ ทายาทที่ได้สละมรดกแล้วนั้นต้องไม่คำนึงว่าทรัพย์มรดกส่วนของตนจะตกแก่ ใครเมื่อตนได้สละมรดก

d การที่ทายาทผู้มีสิทธิตามกฎหมายจะได้รับมรดกได้แสดงเจตนาไม่ขอรับมรดกส่วน ของตนภายหลังจากเจ้ามรดกตายแล้ว ซึ่งตามมาตรา ๑๖๑๕ วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อ ทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน เช่นบิดาสละมรดกของปู่ บุตรเข้ารับมรดกของปู่แทนที่บิดาของตนเองได้เป็นต้น

ในเรื่องวิธีการสละมรดกนั้นกระทำได้ สองวิธีคือ

๓. โดยการทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎของกระทรวง มหาดไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่คือนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งหนังสือสละมรดกนั้นมีข้อความที่แสดงโดยเจตนา ชัดแจ้งว่าสละมรดก ซึ่งทางราชการมีแบบพิมพ์ พ.ก. 5 ดูแบบตัวอย่าง

๒. โดยการทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๕๐ และมาตรา ๔๕๑ ทั้งนี้เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นในภายหน้า ให้เสร็จสิ้นไป การทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าวต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือร่วมกระทำ กันทั้งสองฝ่าย หากทายาทเพียงฝ่ายเดียวแสดงเจตนาข้างเดียวย่อมไม่ถือว่าเป็นสัญญา ประนีประนอมยอมความอันไม่ถือว่าเป็นการสละมรดก แต่ทั้งนี้ หากทายาททำสัญญา ประนีประนอมยอมความให้ไว้กับทายาทบางคนโดยทายาทที่สละมรดกลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวก็

ใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๘๕๑

Facebook Comments