ประวัติความเป็นมาของกฎหมาย เรื่องมรดก
ประเทศไทยแต่ครั้งยังเรียกชื่อว่า ประเทศสยามนั้น ได้มีกฎหมายลักษณะมรดก ซึ่งได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ครั้งในสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระเอกาทศรถ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๙ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกฎหมายลักษณะมรดกนี้ได้ใช้ต่อ ๆ มา และได้รับการปรับปรุงจนถึงปัจจุบันอันได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยให้มีผลเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๘ เป็นต้นไป
ในหลักแห่งระบอบประชาธิปไตย ที่ให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ดังที่บัญญัติ ไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๓๖ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิใช้สอยและ จำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้นกับมีสิทธิติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้า เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
แม้ว่ากฎหมายจะได้รับรองกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระหว่าง ที่ยังมีชีวิตอยู่แล้ว ก็ยังได้รับรองให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ตกทอดกรรมสิทธิ์ของตนไปยัง ทายาทหรือบุคคลอื่นใดที่ตนเห็นสมควรจะยกให้โดยพินัยกรรม อันเป็นหลักการและเหตุผล ของกฎหมายลักษณะมรดกแต่โบราณ
โดยที่กฎหมายลักษณะมรดกอาศัยจารีตประเพณีตามลัทธิศาสนาเนื่องจากในเขต จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลาม จึงมีกฎหมายยกเว้นให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกมาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. ๒๔๙๕ มาตรา ๓ ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัว และมรดกอิสลาม ศาสนิกชนของศาลชั้นต้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ซึ่งอิสลามศาสนิกชนเป็นทั้งโจทก์ จำเลย หรือเป็นผู้เสนอคำขอในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th