Home ทั้งหมด โอนสิทธิเรียกร้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียว สมบูรณ์หรือไม่

โอนสิทธิเรียกร้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียว สมบูรณ์หรือไม่

1034

คําถาม การโอนสิทธิเรียกร้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียว สมบูรณ์
หรือไม่ การบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังที่อยู่ของลูกหนี้ตามที่ระบุ ไปรษณีย์คืนหนังสือ
ที่ส่งไปให้ลูกหนี้เพราะไม่มารับภายในกําหนด การบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้อง ชอบหรือไม่

คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๑๓/๒๕๒๓

การโอนสิทธิเรียกร้องเพียงทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๐๒ วรรคหนึ่ง โดยกฎหมายมิได้กําหนดถึง
รายละเอียดในหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องว่าจะต้องมีรายละเอียดใดบ้าง เพียงแต่มีข้อความที่
ทําให้เข้าใจได้ว่ามีการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ของจําเลยที่โจทก์นํามาฟ้องให้แก่โจกท์ก็เพียงพอแล้ว

โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ของจําเลยตามฟ้องมาจากธนาคาร ส. ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๐๓ วรรคหนึ่ง โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไปปรากฏพฤติการณ์
อื่นใดที่แสดงว่าโจทก์มีเจตนาที่ไม่สุจริต ลําพังพฤติการณ์ที่โจทก์มิได้อ้างส่งเอกสารการโอน
สิทธิเรียกร้องฉบับอื่นอีก ยังไม่เพียงพอรับฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๒

โจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังบ้านอันเป็นที่อยู่ตามสําเนาบัตรประจําตัว
ประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้านของจําเลยแนบท้ายคําขอสินเชื่อ แม้มิใช่ที่อยู่ตามที่จําเลยระบุไว้
ในคําขอสินเชื่อ แต่เมื่อตามคําขอสินเชื่อให้จําเลยระบุที่อยู่ปัจจุบัน (กรณีไม่ตรงกับบัตรประชาชน…)
ย่อมถือได้ว่าจําเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๕
จึงเป็นการส่งตามภูมิลําเนาของจําเลยแล้ว แม้ไปรษณีย์จะคืนหนังสือที่ส่งไปให้จําเลยเนื่องจาก
จําเลยไม่มารับภายในกําหนด ก็ต้องถือว่าโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปถึงจําเลย
และมีผลเป็นการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจําเลยโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๐๐๒ วรรคหนึ่ง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 0891427773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments