ผู้เสียหายในคดีคือใคร ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร
บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใด ฐานหนึ่ง
ความเสียหายที่บุคคลใดได้รับเนื่องมาจากการกระทำผิดของผู้กระทำ ความผิดไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้เสียหายตามมาตรา ๒ (๔) ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีอาญา ถึงแม้ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง แต่โจทก์ผู้ถูกฟ้องย่อมได้รับความเสียหายจาก การกระทำของจำเลย โจทก์เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายแล้ว (ฎีกาที่ ๓๙๖๓/๒๕๔๓)
ตัวอย่างที่ศาลฎีกาวินิจเรื่องผู้เสียหาย
ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อตกลงขายรถยนต์ที่เช่าซื้อจากบริษัท ช. ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อให้จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๑ ตกลงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ ให้บริษัท ช. แทนผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ แม้จะมิได้รับ ความยินยอมจากบริษัท ช. ผู้ให้เช่าซื้อ ก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่าผู้ให้เช่าซื้อ ยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อคนเดิมได้ต่อไป หามีผลทำให้ ผู้เสียหายและบริษัท ช. ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดที่จำเลยที่ ยักยอกเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป (ฎีกาที่ ๑๙๔๔/๒๕๕๖)
ฎีกาที่ ๗๘๓๒/๒๕๕๖
จำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหาย ที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้เช่า ซื้อ เมื่อในขณะกระทำความผิดผู้เสียหายที่ ๒ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ รถยนต์ที่เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ ๒ ได้รับ ความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ ๒ จะไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบ อำนาจจากผู้เสียหายที่ ๑ แต่ก็ถือได้ว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะที่ผู้เสียหายที่ ๒ เป็น ผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เสียหายที่ ๒ จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ และมีอำนาจในการ ถอนคำร้องทุกข์ เมื่อความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัวและคดี
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 0891427773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th