Home ทั้งหมด ประเภทของผู้รับพินัยกรรม ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ประเภทของผู้รับพินัยกรรม ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

690
ประเภทของผู้รับพินัยกรรม ทนายกฤษดา
ประเภทของผู้รับพินัยกรรม ทนายกฤษดา

ประเภทของผู้รับพินัยกรรม ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตอธิบายดังนี้

ประเภทของผู้รับพินัยกรรม

แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้

 ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป

ตามมาตรา ๑๖๕๑ (๑) บัญญัติว่า “เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรมบุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับ ทรัพย์มรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกหรือตามเศษส่วน หรือตามส่วนที่เหลือแห่งทรัพย์มรดก ซึ่งมิได้แยกไว้ต่างหาก เป็นพิเศษจากกองมรดก บุคคลนี้นเรียกว่าผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป และมีสิทธิและความรับผิดเซ่นเดียวกับ ทายาทโดยธรรม”

การเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไปพิจารณาได้ตามลักษณะแห่งการได้รับทรัพย์มรดกตาม ข้อกำหนดพินัยกรรมลักษณะใดลักษณะหนึ่งใน ๓ ลักษณะ ดังนี้

๑) เจ้ามรดกเขียนยกทรัพย์มรดกที่มีอยู่ ทั้งหมด ให้แก่ผู้รับพินัยกรรม

๒) เจ้ามรดกเขียนยกทรัพย์มรดกให้เป็น เศษส่วน เซ่น ให้กี่งหนึ่ง ให้สองในสามส่วนของทรัพย์มรดก

ที่มีอยู่

๓) เจ้ามรดกเขียนยกทรัพย์มรดก ส่วนที่เหลือ ให้ เซ่น เจ้ามรดกเขียนพินัยกรรรมว่า “ขอยกที่ดิน ให้กับนาย ก. ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือทั้งหมดขอยกให้แก,นาย ข.” เซ่นนี้ นาย ข. ก็จะเป็นผู้รับพินัยกรรม ลักษณะทั่วไป

ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ

มาตรา ๑๖๕๑ (๒) บัญญัติว่า “เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สิน เฉพาะสิ,งเฉพาะอย่าง ซึ่งเจาะจงไว้โดยเฉพาะ หรือแยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษจากกองมรดก บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ และมีสิทธิและความรับผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น

ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ

ทรัพย์สินเฉพาะสิ,งเฉพาะอย่าง หมายถึง ทรัพย์สินที่ได้กำหนดตัวตนไว้อย่างแน่นอน เป็นทรัพย์สิน พร้อมที่จะส่งมอบ ไม่จำต้องชั่ง ตวง วัด

ตัวอย่าง เซ่น เขียนพินัยกรรมระบุว่า “ยกทรัพย์มรดกให้กับนาย ข. เป็นเงินจำนวน ๑ ล้านบาท” กรณีถือว่า นาย ข. เป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่มีการเจาะจง จำนวนทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดกไว้โดยเฉพาะ โดยแยกทรัพย์ดังกล่าวไว้ต่างหากเป็นพิเศษจากทรัพย์สินอื่น ในกองมรดก ซึ่งถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง อันเป็นการกำหนดทรัพย์สินที่แน่นอนว่า นาย ข. ได้เงิน จำนวน ๑ ล้านบาทจากผู้ตาย

สิทธิและความรับผิดของผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไปและผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ

สำหรับผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป มีสิทธิและความรับผิดเซ่นเดียวกับทายาทโดยธรรม โดยมาตรา ๑๖๕๑(๑)ได้บัญญัติว่า “เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดก ทั้งหมดของเจ้ามรดก หรือตามเศษส่วน หรือตามส่วนที่เหลือแห่งทรัพย์มรดกซึ่งมิได้แยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษ จากกองมรดก บุคคลนั้นเรียกว่าผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป และมีสิทธิและความรับผิดเซ่นเดียวกับทายาท โดยธรรม” ดังนั้น ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป ย่อมมีสิทธิและความรับผิดเซ่นเดียวกับทายาทโดยธรรม ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายต้องการให้ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไปมีสิทธิและหน้าที่เซ่นเดียวกับทายาทโดยธรรม

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

ทนายกฤษดา ดวงชอุ่ม

ทนายกฤษดา ดวงชอุ่ม

Facebook Comments