Home ทั้งหมด การสมรสที่เป็นโมฆะ มีอะไรบ้าง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การสมรสที่เป็นโมฆะ มีอะไรบ้าง ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

1034

การสมรสที่เป็นโมฆะ

เนื่องจากในการสมรสนั้นคู่สมรสจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ดังที่ บัญญัติไว้ในหมวด ๒ เงื่อนไขแห่งการสมรส ตั้งแต่มาตรา ๑๔๔๘ ถึงมาตรา ๑๔๖๐ เงื่อนไขบาง ประการเป็นเงื่อนไขที่สำคัญ กฎหมายจึงได้บัญญัติว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวเป็นโมฆะอัน มีผลเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นเลยดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องความเป็นโมฆะของการสมรส แต่มีเงื่อนไขบางประการที่กฎหมายเห็นว่ามีความสำคัญรองลงมา จึงบัญญัติว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน เงื่อนไขชนิดนี้เป็นเพียงการสมรสที่เป็นโมฆยะ (voidable marriage) เท่านั้น มาตรา ๑๕๐๒ การสมรสที่เป็นโมฆี่ยะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน ในเรื่องการสมรสที่เป็นโมฆี่ยะนี้จะนำ

หลักเรื่องโมฆยะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๗๕ และมาตรา ๑๗๖ มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะการสมรสที่เป็นโมฆยะมี กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว กล่าวคือ ถ้าเป็นโมฆยะกรรมธรรมดาตามมาตรา ๑๗๕ นั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความ สามารถที่พ้นสภาวะนั้นแล้ว ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ จะบอกล้างเสียก็ได้ และมาตรา ๑๗๖ วรรคแรก โมฆยะกรรมนั้นเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่การสมรสที่เป็นโมฆี่ยะนี้ จะต้องมีการฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๐๒ การ สมรสที่เป็นโมฆยะจึงจะสิ้นสุดลง ผู้มีส่วนได้เสียจะบอกล้างเองไม่ได้ และเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ เพิกถอนการสมรสแล้ว (decree of nullity)

การสมรสที่เป็นโมฆี่ยะย่อมสิ้นสุดลงในวันที่คำพิพากษา ถึงที่สุด ซึ่งผิดกับโมยะกรรมธรรมดาที่บอกล้างแล้วถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก การสมรสที่เป็นโมฆยะแตกต่างกับการสมรสที่เป็นโมฆะในแง่ที่ว่าการสมรสที่เป็นโมฆยะถือว่าเป็นการสมรสที่ สมบูรณ์จนกว่าจะถูกศาลเพิกถอน แต่การสมรสที่เป็นโมฆะเป็นการสมรสที่ไม่สมบูรณ์ไม่มีผล เพียงแต่บุคคลใดจะกล่าวอ้างการสมรสเป็นโมฆะไม่ได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา เว้นแต่กรณีการสมรสซ้อนที่ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นได้เท่านั้น การสมรสที่เป็น โมฆยะถ้าเวลาล่วงเลยไปจนพ้นกำหนดที่จะฟ้องขอเพิกถอนแล้วการสมรสนั้นก็ไม่อาจจะถูกเพิกถอน ได้อีกต่อไป แต่การสมรสที่เป็นโมฆะนั้นแม้เวลาจะผ่านพ้นไปนานเท่าใดก็ตามก็ไม่อาจสมบูรณ์ขึ้น มาได้ ผู้มีส่วนได้เสียยังมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การสมรสที่เป็นโมฆยะหากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว การสมรส ย่อมสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๕๐๑ ผู้มีส่วนได้เสียไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการสมรสได้อีก แต่การ สมรสที่เป็นโมฆะแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียก็ยังมีสิทธิฟ้องขอ เป็นการสมรส ว่าเป็นเช่นนั้น ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะได้ถ้ามีเหตุผลพิเศษแสดงว่ามีการโต้แย้งสิทธิใน ครอบครัว มรดกหรือสิทธิอื่นใด

๒.๑ เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆยะ

มาตรา ๑๕๐๓ เหตุที่จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรสเพราะเหตุว่าเป็นโมฆี่ยะ มีเฉพาะในกรณีที่คู่สมรสทำการฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๔๘ มาตรา ๑๕๐๕ มาตรา ๑๕๐๖ มาตรา๑๕๐๗ และมาตรา ๑๕๐๙

การสมรสที่เป็นโมฆยะมีได้ใน ๕ กรณีดังต่อไปนี้

การสมรสที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์

มาตรา ๑๕๐๔ การสมรสที่เป็นโมฆยะเพราะฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๔๘ ผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้เพิกถอนการสมรสได้ แต่บิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมแล้วจะขอให้เพิกถอน การสมรสไม่ได้

ถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิงมีอายุครบตามมาตรา ๑๔๔๘ หรือเมื่อ

หญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบตามมาตรา ๑๔๔๘ ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส การสมรสที่ได้กระทำระหว่างชายและหญิงซึ่งอายุยังไม่ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์เป็นการสมรส ที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขมาตรา ๑๔๔๘ การสมรสดังกล่าวจึงเป็นโมฆยะตามมาตรา ๑๕๐๓ เพราะกฎหมาย ถือว่าบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑ ๑๗ ปียังไม่มีความเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจพอที่จะทำการสมรส ได้ ผู้มีส่วนได้เสียจึงอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เพิกถอนเสียได้ ผู้มีส่วนได้เสียหมายถึง บุคคล ที่ถูกกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่อันเนื่องมาจากการสมรสของชายหญิงที่ยังอ่อนอายุนี้อันได้แก่ ตัวชายและหญิงผู้ทำการสมรสนั้นเอง บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้รับบุตรบุญธรรมของชายหรือ

Facebook Comments