Home ทั้งหมด การสิ้นสุดแห่งการสมรส

การสิ้นสุดแห่งการสมรส

739

การสิ้นสุดแห่งการสมรส

การที่ชายและหญิงทำการสมรสกันเพื่อสร้างครอบครัวกำหนดคู่เพศสัมพันธ์ให้ชัดเจนแน่นอนเพื่อความเป็นปึกแผ่นในหมู่วงศาคณาญาติแล้วนั้น สถานะของการสมรสจะคงอยู่ตลอดไปชั่วกัลปวสานก็หาไม่ การสมรสย่อมมีการสิ้นสุดลงเหมือนเช่นเหตุการณ์ในสังคมด้านอื่น ๆ โดย ทั่วไปแล้วการสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุทางธรรมชาติที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายตาม อายุขัย นอกจากนี้อาจจะมีการสมรสที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายอันเป็นเหตุที่ทำให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งร้องขอในเพิกถอนการสมรสนี้เสียได้ หรือคู่สมรสหมดความเสน่หาอาลัยต่อกันแล้วมาขอหย่า ขาดจากกันเพื่อไปตั้งต้นชีวิตกันใหม่ก็ได้ กฎหมายจึงกำหนดเหตุที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงไว้ใน มาตรา ๑๕๐๑ ที่บัญญัติว่า “การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้ เพิกถอน” จึงกล่าวได้ว่าการสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ

๑. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย

๒. ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆยะ และ

๓. คู่สมรสหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

เหตุอื่นนอกจากนี้ไม่เป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลง อาทิเช่น การที่สามีไปบวชเป็นพระ ภิกษุสามเณรเป็นอันขาดจากการสมรสตามกฎหมายลักษณะตัวเมีย บทที่ ๓๘ ก็ดี การที่ภริยาไป บวชเป็นชีโดยสามียินยอมเป็นอันขาดจากการสมรสตามกฎหมายลักษณะตัวเมีย บทที่ ๓๙ ก็ดีหรือการที่สามีไปค้าขายตามจังหวัดหัวเมืองในพระราชอาณาเขตไม่ฝากของและบอกข่าวทุกข์สุข มาให้ภริยาทราบพ้นกำหนดหนึ่งที่เป็นอันขาดจากการสมรสตามกฎหมายลักษณะตัวเมีย บทที่ ๖๒ ก็ดี เหล่านี้ตามกฎหมายปัจจุบันไม่ถือเป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลง นอกจากนี้การที่สามีภริยา ได้ร้างกันไปช้านานนั้น ตามกฎหมายไม่ถือว่าขาดจากสามีภริยา และยังคงมีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและ กันอยู่) หรือการที่สามีละทิ้งภริยาไปได้ภริยาใหม่นั้นไม่เป็นเหตุให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

Facebook Comments